วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การตรวจการตั้งครรภ์หลังการปฏิสนธิ ด้วยปฏิสนธินอกร่างกาย


การตรวจการตั้งครรภ์หลังการปฏิสนธิ
ด้วยปฏิสนธินอกร่างกาย

การตรวจเลือด
หลังการย้ายตัวอ่อนประมาณ 2 สัปดาห์ จะมีการตรวจเลือดหรือปัสสาวะเพื่อหาระดับ hCG หรือฮอร์โมนที่แสดงถึงการตั้งครรภ์  ในช่วงการตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกนั้นการตรวจผลจากเลือดจะให้ผลชัดกว่าการตรวจปัสสาวะเพื่อทราบการตั้งครรภ์ด้วยตนเองที่บ้าน
•    หากระดับของ hCG ในเลือดมีน้อยกว่า 5 IU/L จากการตรวจครั้งแรก แสดงว่าผู้ป่วยไม่ได้เกิดการตั้งครรภ์
•    หากระดับของ hCG มีมากกว่า 10 IU/L จากการตรวจครั้งแรก จะมีการตรวจซ้ำอีกภายหลังระยะเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อยืนยันระดับฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งระดับ hCG จะเพิ่มสูงขึ้นประมาณสองเท่าทุกๆ ระยะเวลา 48 ชั่วโมง ในระหว่างระยะเวลา 21 วันแรกของการย้ายตัวอ่อน
•    หากระดับของ hCG จากการตรวจครั้งที่สองไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง จะมีการตรวจเลือดซ้ำอีกครั้งภายหลังระยะเวลา 48 ชั่วโมง  ถ้าการตั้งครรภ์ไม่สำเร็จระดับ hCG จะไม่เพิ่มขึ้น หรือระดับจะเริ่มลดลง (ให้ดูหัวข้อ “การปฏิสนธิด้วยวิธีปฏิสนธินอกร่างกายที่ไม่ประสบผลสำเร็จ”)
การทำอัลตราซาวด์
หากระดับของ hCG เพิ่มขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ จะมีการทำอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกรานในระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังการย้ายตัวอ่อนในช่วงดังกล่าวนี้ จะสามารถมองเห็นถุงน้ำคร่ำที่แสดงถึงการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูกได้ ซึ่งในถุงน้ำคร่ำจะมีตัวอ่อนอยู่ภายใน (รูปที่ 1)
ในสัปดาห์ที่ 5-6 ของการตั้งครรภ์ (4-5 สัปดาห์หลังการย้ายตัวอ่อน) จะสามารถมองเห็นถุงไข่แดง ซึ่งภายในถุงบรรจุสารอาหารเพื่อเลี้ยงตัวอ่อนในช่วงการพัฒนาระยะแรกของตัวอ่อน นอกจากนี้ สามารถสังเกตเห็นการเต้นของหัวใจภายในสัปดาห์ที่ 6 หรือ 6.5 ของการตั้งครรภ์ (สัปดาห์ที่ 4-4.5 หลังการย้ายตัวอ่อน)
การดูแลการตั้งครรภ์
ในหลายกรณี การดูแลก่อนคลอดจะเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6 ถึง 10 ของการตั้งครรภ์ ในช่วงเวลาดังกล่าว หญิงที่ตั้งครรภ์จะต้องมาพบสูตินารีแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการมาพบแพทย์จะทำให้แพทย์สามารถดูแลสุขภาพของหญิงที่มีครรภ์และทารกในครรภ์ ตลอดทั้งตอบข้อซักถามต่างๆ

หากวิธีการปฏิสนธินอกร่างกายไม่ประสบความสำเร็จ
การรักษาด้วยวิธีการปฏิสนธินอกร่างกายมีอัตราการตั้งครรภ์ที่มากพอสมควร กล่าวโดยทั่วไป ประมาณ 27 เปอร์เซ็นต์ของรอบการรักษาด้วยวิธีนี้ประสบผลสำเร็จด้วยการให้กำเนิดทารกที่มีชีวิตอยู่รอด และเพิ่มการมีโอกาสในการตั้งครรภ์ หากมีการมีการรักษาด้วยวิธีนี้มากกว่า 1 รอบ 
อย่างไรก็ดี โอกาสของแต่ละบุคคลในการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมทั้งอายุของผู้ป่วย สาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก และวิธีการรักษา เช่น อัตราการตั้งครรรภ์ต่อการรักษาด้วยวิธีปฏิสนธินอกร่างกายหนึ่งรอบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 35ปี มีประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์  ผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 35-37 ปีประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ใน ผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 38-40 ปี ประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์  ส่วนผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปนั้นมีประมาณ 6-10 เปอร์เซ็นต์ 
อนึ่ง สิ่งที่ยากในการรับมือประการหนึ่งคือภาวะอารมณ์แปรปรวนในระหว่างการรักษาภาวะการมีบุตรยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ป่วย (และคู่สมรส) ได้พยายามตั้งครรภ์มาเป็นระยะเวลานาน หรือหากการทำประกันไม่ได้ครอบคลุมการรักษาดังกล่าว หรือหากมีปัญหาระหว่างชีวิตของคู่สมรส เช่น ปัญหาการเจ็บป่วย ปัญหาครอบครัวหรือคู่สมรส ปัญหาการทำงาน หรือปัญหาทางการเงิน เป็นต้น 
มีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษานี้ตามศูนย์การรักษาภาวะการมีบุตรยาก เช่นเดียวกับทางอินเตอร์เน็ต หรือหากต้องการหากลุ่มบุคคลที่เคยรับการรักษาด้วยวิธีนี้ ให้สอบถามจากแพทย์ผู้ทำการรักษา

1 ความคิดเห็น: